ความเท่าเทียมที่ไม่เท่าเทียม ระหว่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต – สมรสเท่าเทียม
การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ความเห็นชอบ ร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พบว่าผู้คนในโลกโซเชียลมีเดียให้ความสนใจ โดยมีการเปรียบเทียบ และกล่าวถึงการแก้ไขกฎหมายเพื่อความเท่าเทียมของคู่รักที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือ LGBTQ จากที่ ส.ส. ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ จากพรรคก้าวไกล เสนอร่าง พ.ร.บ.แก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฯ มาตรา 1448 (ร่าง แก้ไข ป.พ.พ. 1448) เพื่อการสมรสเท่าเทียม BLT Bangkok จึงรวบรวมสิทธิ และหน้าที่บางประการ ระหว่างร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ที่ ครม.มีมติเห็นชอบ และร่าง พ.ร.บ.แก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฯ มาตรา 1448 ที่ ส.ส.จากพรรคก้าวไกลเป็นผู้เสนอเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างให้เห็นชัดโดยง่าย ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ที่เห็นชอบโดย ครม.สำหรับร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต หรือ พ.ร.บ.คู่ชีวิต ที่ ครม. มีมติเห็นชอบนั้น มีหลักการคือ เพื่อให้กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศได้รับการคุ้มครองอย่างเป็นธรรม เท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติ และดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี เสนอโดยกระทรวงยุติธรรม และคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่าง พ.ร.บ. แล้ว โดยหลังจากนี้ ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิตจะถูงส่งไปยังคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป โดยร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต มีสาระสำคัญอยู่ 9 ประการ อาทิ การกำหนดให้บุคคล 2 คนซึ่งเป็นเพศเดียวกันโดยกำเนิดได้จดทะเบียนคู่ชีวิตกันตามกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.คู่ชีวิต […]